ผู้ป่วยมะเร็งสามารถทานอาหารเสริมได้หรือไม่?

คำตอบจากแพทย์หญิงกาญจนา อารีรัตนเวช
นายแพทย์ชำนาญการ แพทย์เฉพาะทางศัลยศาสตร์ทั่วไปและศัลยศาสตร์มะเร็งวิทยา โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี งานเสวนา พลิกมุมมองใหม่ เพื่อรับมือกับโรคมะเร็งครั้งที่ 10

“ปกติคนไข้มะเร็งหรือคนไข้ที่อยู่ในระหว่างให้เคมีบำบัดหรือฉายแสง เราก็อยากจะให้ได้โปรตีน หรืออาหารที่มีพลังงานสูง แต่เนื่องจากคนไข้กลุ่มนี้จะทานได้น้อยอยู่แล้ว พอเวลาต้องทานเสริม เราก็อยากให้ได้ส่วนที่มีคุณภาพ หรือมีพลังงานหรือโปรตีนค่อนข้างสูง ถ้าถามว่าทานซุบไก่ได้ไหม ก็ทานได้ค่ะ ไม่มีข้อห้าม แต่ถ้าถามว่าประโยชน์มากน้อยแค่ไหน คือมากถึงพลังงานเท่าไหร่ เราก็ไม่มีตัววัดหรือรู้ค่าที่แน่นอน มันก็ถือเป็นหนึ่งในอาหารเสริมต่างๆ ซึ่งปัจจุบันก็มีอาหารเสริมต่างๆ ที่นอกเหนือจากที่เราทานให้ครบห้าหมู่แล้ว พวกอาหารเสริมทางการแพทย์ เช่น โปรชัว นม ก็มีโปรตีนสูงไม่แพ้กัน หรือเราสามารถเสริมจากอาหารที่ทำสด ปรุงสดได้

ส่วนอาหารหมักดองที่ผู้ป่วยถามว่าทานได้หรือไม่ เช่น ปลาร้า หรือ หน่อไม้ คุณหมอเห็นว่าในภาวะปกติ อาหารกลุ่มนี้ก็เป็นอาหารที่เราอยากให้หลีกเลี่ยง ไม่ควรทานเยอะแต่ถ้าอยู่ในการรักษาแล้วอยากทานจริงๆ ก็ทานได้นิดหน่อยแต่ต้องปรุงให้สุกสะอาด และทานอาหารอย่างอื่นเสริมเพื่อให้ได้คุณค่าที่ครบถ้วน”

คุณเบลล่าเสริมว่า “ผู้ป่วยควรทานให้เป็นหน้าที่ แต่ละวันให้ลองคิดเมนูอาหารว่าพรุ่งนี้อยากทานอะไร เพื่อให้เราสู้ยาได้ หากมีอาการคลื่นไส้ ก็สามารถขอยาแก้แพ้ เพื่อให้สามารถทานอาหารได้มากขึ้น หรือการแบ่งมื้อ กินน้อยๆ แต่กินบ่อยๆ
อีกหนึ่งประสบการณ์คือ มีช่วงระหว่างรักษา อยากจะทานอาหารเจ เลยทานเจไป 7 วัน พอถึงกำหนดที่จะรับยาเคมี ผลเลือดไม่ผ่าน ค่าเม็ดขาวแย่ ก็มาทราบสาเหตุว่า เพราะเราอดเนื้อสัตว์ กินแต่ผักทำให้เม็ดเลือดไม่เพียงพอ ทำให้แผนการรักษาต้องเลื่อนออกไป เพราะฉะนั้นผู้ป่วยควรพิจารณาให้ดีก่อนที่จะตัดสินใจว่าจะทานหรือไม่ทานอะไร”



นายแพทย์ชำนาญการ แพทย์เฉพาะทางศัลยศาสตร์ทั่วไปและศัลยศาสตร์มะเร็งวิทยา โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี งานเสวนา พลิกมุมมองใหม่ เพื่อรับมือกับโรคมะเร็งครั้งที่ 10

“ปกติคนไข้มะเร็งหรือคนไข้ที่อยู่ในระหว่างให้เคมีบำบัดหรือฉายแสง เราก็อยากจะให้ได้โปรตีน หรืออาหารที่มีพลังงานสูง แต่เนื่องจากคนไข้กลุ่มนี้จะทานได้น้อยอยู่แล้ว พอเวลาต้องทานเสริม เราก็อยากให้ได้ส่วนที่มีคุณภาพ หรือมีพลังงานหรือโปรตีนค่อนข้างสูง ถ้าถามว่าทานซุบไก่ได้ไหม ก็ทานได้ค่ะ ไม่มีข้อห้าม แต่ถ้าถามว่าประโยชน์มากน้อยแค่ไหน คือมากถึงพลังงานเท่าไหร่ เราก็ไม่มีตัววัดหรือรู้ค่าที่แน่นอน มันก็ถือเป็นหนึ่งในอาหารเสริมต่างๆ ซึ่งปัจจุบันก็มีอาหารเสริมต่างๆ ที่นอกเหนือจากที่เราทานให้ครบห้าหมู่แล้ว พวกอาหารเสริมทางการแพทย์ เช่น โปรชัว นม ก็มีโปรตีนสูงไม่แพ้กัน หรือเราสามารถเสริมจากอาหารที่ทำสด ปรุงสดได้

ส่วนอาหารหมักดองที่ผู้ป่วยถามว่าทานได้หรือไม่ เช่น ปลาร้า หรือ หน่อไม้ คุณหมอเห็นว่าในภาวะปกติ อาหารกลุ่มนี้ก็เป็นอาหารที่เราอยากให้หลีกเลี่ยง ไม่ควรทานเยอะแต่ถ้าอยู่ในการรักษาแล้วอยากทานจริงๆ ก็ทานได้นิดหน่อยแต่ต้องปรุงให้สุกสะอาด และทานอาหารอย่างอื่นเสริมเพื่อให้ได้คุณค่าที่ครบถ้วน”

คุณเบลล่าเสริมว่า “ผู้ป่วยควรทานให้เป็นหน้าที่ แต่ละวันให้ลองคิดเมนูอาหารว่าพรุ่งนี้อยากทานอะไร เพื่อให้เราสู้ยาได้ หากมีอาการคลื่นไส้ ก็สามารถขอยาแก้แพ้ เพื่อให้สามารถทานอาหารได้มากขึ้น หรือการแบ่งมื้อ กินน้อยๆ แต่กินบ่อยๆ
อีกหนึ่งประสบการณ์คือ มีช่วงระหว่างรักษา อยากจะทานอาหารเจ เลยทานเจไป 7 วัน พอถึงกำหนดที่จะรับยาเคมี ผลเลือดไม่ผ่าน ค่าเม็ดขาวแย่ ก็มาทราบสาเหตุว่า เพราะเราอดเนื้อสัตว์ กินแต่ผักทำให้เม็ดเลือดไม่เพียงพอ ทำให้แผนการรักษาต้องเลื่อนออกไป เพราะฉะนั้นผู้ป่วยควรพิจารณาให้ดีก่อนที่จะตัดสินใจว่าจะทานหรือไม่ทานอะไร”


ผู้ป่วยมะเร็งสามารถถอนฟันได้หรือไม่?

คำตอบจาก อาจารย์แพทย์หญิงวิมรัก อ่อนจันทร์
จากงานเสวนา พลิกมุมมองใหม่ เพื่อรับมือกับโรคมะเร็ง ครั้งที่ 5 ณ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

“กรณีคนไข้ฉายรังสี เป็นการฉายเฉพาะที่ ถ้าคนไข้ฉายรังสีบริเวณช่องท้อง หรืออก คนไข้ก็สามารถถอนฟันได้ตามปกติไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าคนไข้มีประวัติที่ฉายรังสีบริเวณศรีษะ และลำคอ ซึ่งจะโดนบริเวณช่องปาก การถอนฟันบริเวณช่องปากหลังจากที่เราจบการรักษาแล้ว จะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อ เป็นกระดูกขากรรไกรเน่าได้

คำแนะนำสำหรับคนไข้ที่จำเป็นต้องถอนฟันจริงๆ ปัจจุบันเรามีเครื่อง Hyperbaric oxygen เป็นเครื่องออกซิ่งความดันสูง ที่ช่วยเรื่องของการหายของแผล และลดโอกาสเกิดเป็นแผลเรื้อรัง ซึ่งคนไข้สามารถปรึกษาแพทย์ได้ก่อนทำการรักษาค่ะ หรือขอคำแนะนำที่ต้องปฏิบัติตัวเป็นพิเศษจากแพทย์ค่ะ

กรณีของคุณเบลล่า ที่ผ่านการให้เคมีบำบัดหลายครั้ง คุณหมอจะแนะนำให้มาตรวจเกล็ดเลือดก่อน เพราะเวลาไปทำฟันแล้วเกิดเลือดไหลไม่หยุด จะเป็นปัญหาสำหรับผู้ป่วยได้ จึงควรปรึกษากับแพทย์ของท่านก่อนตัดสินใจทำค่ะ”


เป็นมะเร็งแล้วนวดได้ไหม?

คำตอบจากนายแพทย์วีรวุฒิ อิ่มสำราญ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติที่มาร่วมให้ความรู้ในงานเสวนา “พลิกมุมมองใหม่ เพื่อรับมือกับโรคมะเร็ง” ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561 ณ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ

“เรื่องนวดเป็นการผ่อนคลายซึ่งสามารถนวดได้ แต่จุดที่อาจจะอันตรายในกรณีที่มีการปวด จุดต่างๆ ที่คนไข้ไม่ทราบว่ามีการกระจายของมะเร็งไปที่กระดูก เริ่มปวดแขนปวดขา แล้วไปนวดแผนไทยก็มีอันตรายได้

ดังนั้น ถ้าเริ่มปวดผิดปกติ โดยที่ไม่ได้ทำกิจกรรมอะไรมาก่อนควรพบแพทย์ก่อนที่จะไปหาหมอนวด เพื่อวินิจฉัยสาเหตุซึ่งอาจเป็นโรคมะเร็งได้

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่บอกหมอนวดว่าเป็นมะเร็ง เนื่องจากหมอนวดบางคนจะไม่รับนวดเลยเพราะกลัวไปกระตุ้นโรค ยกเว้นว่าคนไข้มีอาการทางร่างกายชัดเจน

การนวดแล้วทำให้มะเร็งกระจายนั้นขึ้นอยู่กับอวัยวะ หากเป็นมะเร็งเต้านม หรือมะเร็งภายนอกที่เป็นก้อนชัดเจน ถ้าไปนวดคลึงจุดนั้นแรงๆ แล้วมันไปตามหลอดเลือดหลอดน้ำเหลืองได้ไหม ก็เป็นไปได้ แต่ในกรณีเต้านมหมอนวดก็ไม่ได้ไปแตะส่วนนี้อยู่แล้ว แต่ถ้าส่วนอื่น โดยหลักการ ก้อนที่อยู่ภายนอก การไปนวดเค้น กดแรงๆ มีโอกาสที่ก้อนจะแตก หรือแพร่กระจาย แต่ถ้าในกรณีที่เป็นผู้ป่วยทั่วๆ ไป จะเป็นห่วงในเรื่องของกระดูกหัก เนื่องจากที่พบผู้ป่วยมีอาการปวด แล้วไม่ทราบว่าตนเองเป็นมะเร็ง แล้วไปนวด”


ผู้ป่วยมะเร็งทำสวยได้ไหม?

คำตอบจากคุณหมอฆริกานต์
ในงานเสวนา “พลิกมุมมองใหม่เพื่อรับมือกับโรคมะเร็ง” ครั้งที่ 7 ที่รพ.ธรรมศาสตร์

“เรื่องของศัลยกรรมตกแต่งกับคนไข้มะเร็ง อยากให้แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ศัลยกรรมตกแต่งที่อยู่ในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง เช่น เป็นมะเร็งเต้านมแล้วทำศัลยกรรมหน้าอก จะแนะนำว่าขึ้นอยู่กับการรักษาและระยะของมะเร็ง ถ้าหายขาดแล้ว เป็นความสุขของคนไข้ ทำแล้วสวยก็จะแนะนำให้ทำได้ แต่ที่เราไม่แนะนำให้ทำในช่วงที่อยู่ในระหว่างการรักษา เพราะเรากังวลว่า การทำศัลยกรรมมีโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อ ซึ่งจะทำให้การรักษาของเราบางอย่างเช่น เคมีบำบัด ล่าช้าออกไป ส่วนตัวคิดว่า ถ้าอยากจะทำจริงๆ อยากให้ปรึกษากับคุณหมอที่เป็นเจ้าของไข้ค่ะ

ถ้าเป็นในกรณีที่ไม่ใช่ตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งที่เป็นมะเร็ง เช่น เสริมจมูก ทำตา อันนี้ก็ไม่มีข้อห้ามแต่อยากให้ไปทำในสถานที่ เช่น โรงพยาบาล ที่เชื่อถือได้ เพราะการจะทำแค่ศัลยกรรมตกแต่งเล็กๆ น้อยๆ จะต้องใช้เครื่องมือที่สะอาด ปลอดเชื้อ แต่ถ้าในระหว่างรักษาแล้วเราอยากมีดั้งจมูก เราก็ไปลองเรียนแต่งหน้าก่อนได้ เดี๋ยวนี้เครื่องสำอางค์ทำได้ทุกอย่างเลยค่ะ”

ในกรณีที่ผุ้ป่วยมะเร็งต้องการทำสีผม ย้อมผม สามารถทำได้หรือไม่ คุณหมอได้ให้คำแนะนำว่า “สามารถทำได้แต่ขึ้นอยู่กับระยะของมะเร็งด้วย เพราะสารเคมีบางตัวก็มีผลกับอวัยวะ ถึงจะเป็นแค่เส้นผมก็เกิดการติดเชื้อที่เข้าสู่ระบบในร่างกายได้ จึงแนะนำให้ปรึกษากับแพทย์เจ้าของไข้ ในมุมมองของหมอ เรื่องของความสวยความงาม เราไม่ห้ามอยู่แล้ว เพราะเข้าใจว่า สิ่งที่ทำให้ผู้ป่วยมีพลัง”

“ในส่วนการทาสีเล็บ ถ้าเปิดร้านเอง อาจจะต้องระวังนิดนึงค่ะ เพราะมีสารเคมีและกลิ่นที่กระทบได้เหมือนกัน แต่ถ้าทาเล็บส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีปัญหาค่ะ โดยทั่วไปถ้าเป็นคนไข้ที่มาโรงพยาบาล เราจะไม่ค่อยแนะนำให้ทา ถ้าทามาเราก็จะเช็ดออก เพราะคนไข้บางเคสเราต้องวัดออกซิเจน ถ้าอยู่ในระหว่างรักษาไม่อยากให้ทา อีกเหตุผลที่คนไข้อาจจะไม่รู้ก็คือ การดูลักษณะสีเล็บมันเป็นการบ่งบอกโรคที่อยู่ข้างในคนไข้ได้เหมือนกันค่ะ เพราะฉะนั้นบางอย่างเราก็ดูได้จากเล็บคนไข้ที่แข็งแรงหรือไม่แข็งแรงค่ะ เพราะฉะนั้นการทาเล็บมันจะบดบังอาการพวกนี้ไป อย่างไรก้ตามถ้ามานอนโรงพยาบาลส่วนใหญ่ก็จะถูกเช็ดออกค่ะ”

ผู้ป่วยมะเร็งมีลูกได้ไหม?

คำตอบจากแพทย์หญิง กุลธิดา มณีนิล
และ แพทย์หญิง จอมธนา ศิริไพบูลย์ จากงานเสวนา พลิกมุมมองใหม่ เพื่อรับมือกับโรคมะเร็งครั้งที่ 7 และ 9


“ถ้าคนไข้มะเร็งอยู่ในวัยสืบพันธ์ แล้อยากมีลูกในอนาคตจะมีได้ไหม
คนไข้ที่เราเจอจะอยู่ในช่วงอายุ 20-35 ปี เราก็อาจจะต้องแจ้งก่อนค่ะว่า ยาเคมีอาจจะมีผล โดยสามารถให้คำแนะนำได้สองกรณีค่ะ คือ

1. ถ้าอยู่ในช่วงแต่งงานแล้วเป็นมะเร็งช่วงนั้น ต้องคุมกำเนิดดีๆ ค่ะ เพราะว่ายาเคมีจะไปมีผลต่อลูกในท้อง ซึ่งต้องระวัง
2. ถ้ายังไม่มีแฟนแต่วางแผนไว้แล้วอยากจะมีในอนาคต แล้วมะเร็งของเรามีโอกาสหายแน่ๆ ก็อาจจะต้องวางแผนให้เก็บไข่ หรือสเปิร์มเป็นการวางแผนล่วงหน้า เพราะยาเคมีสำหรับบางคนก็อาจจะมีผลช่วงหนึ่งที่ทำให้เป็นหมัน ทำให้สปิร์มไม่แข็งแรง ก็จะมีการทำธนาคารสปิร์ม ช่วยเหลือเก็บไว้ก่อนในอนาคต

ส่วนการฉายแสงนั้นก็ไม่ได้ทำให้เป็นหมันนะคะ เว้นแต่คนที่ฉายบริเวณอุ้งเชิงกราน ช่องท้อง ก็อาจจะโดนรังไข่ ทำให้รังไข่ฝ่อได้ อย่างคนไข้ที่เป็นมะเร็งปากมดลูก ก็จะไม่มีประจำเดือนเพราะรังไข่จะฝ่อไป ผู้ชายก็เช่นกันค่ะ หากเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือ มะเร็งต่อมลูกหมาก ก็อาจจะมีผลให้เป็นหมันได้ค่ะ

ประเด็นเรื่องมะเร็งสามารถถ่ายทอดไปสู่บุตรได้หรือไม่
มะเร็งบางชนิดมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมโดยเฉพาะค่ะ ปัจจุบันในครอบครัวส่วนใหญ่เราจะมีการตรวจยีน พิสูจน์ว่าผู้ป่วยคนนั้นมียีนนี้อยู่ในร่างกายหรือไม่ ซึ่งถ้ามียีนอันนี้เราก็จะให้คำปรึกษาอย่างแรกเลยว่า ถ้ามีบุตรเราก็จะแนะนำให้พาบุตรมาตรวจด้วย เพราะโรคมะเร็งบางชนิดสามารถป้องกันได้
เราอาจเคยได้ยินข่าว ดาราดังบางท่าน อย่างคุณโจลี่ที่มีคุณแม่ และคุณยายเป็นมะเร็ง ทำให้เธอตัดสินใจผ่าตัดมดลูก และท่อรังไข่”