ผู้ป่วยมะเร็งสามารถทานอาหารเสริมได้หรือไม่?

คำตอบจากแพทย์หญิงกาญจนา อารีรัตนเวช
นายแพทย์ชำนาญการ แพทย์เฉพาะทางศัลยศาสตร์ทั่วไปและศัลยศาสตร์มะเร็งวิทยา โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี งานเสวนา พลิกมุมมองใหม่ เพื่อรับมือกับโรคมะเร็งครั้งที่ 10

“ปกติคนไข้มะเร็งหรือคนไข้ที่อยู่ในระหว่างให้เคมีบำบัดหรือฉายแสง เราก็อยากจะให้ได้โปรตีน หรืออาหารที่มีพลังงานสูง แต่เนื่องจากคนไข้กลุ่มนี้จะทานได้น้อยอยู่แล้ว พอเวลาต้องทานเสริม เราก็อยากให้ได้ส่วนที่มีคุณภาพ หรือมีพลังงานหรือโปรตีนค่อนข้างสูง ถ้าถามว่าทานซุบไก่ได้ไหม ก็ทานได้ค่ะ ไม่มีข้อห้าม แต่ถ้าถามว่าประโยชน์มากน้อยแค่ไหน คือมากถึงพลังงานเท่าไหร่ เราก็ไม่มีตัววัดหรือรู้ค่าที่แน่นอน มันก็ถือเป็นหนึ่งในอาหารเสริมต่างๆ ซึ่งปัจจุบันก็มีอาหารเสริมต่างๆ ที่นอกเหนือจากที่เราทานให้ครบห้าหมู่แล้ว พวกอาหารเสริมทางการแพทย์ เช่น โปรชัว นม ก็มีโปรตีนสูงไม่แพ้กัน หรือเราสามารถเสริมจากอาหารที่ทำสด ปรุงสดได้

ส่วนอาหารหมักดองที่ผู้ป่วยถามว่าทานได้หรือไม่ เช่น ปลาร้า หรือ หน่อไม้ คุณหมอเห็นว่าในภาวะปกติ อาหารกลุ่มนี้ก็เป็นอาหารที่เราอยากให้หลีกเลี่ยง ไม่ควรทานเยอะแต่ถ้าอยู่ในการรักษาแล้วอยากทานจริงๆ ก็ทานได้นิดหน่อยแต่ต้องปรุงให้สุกสะอาด และทานอาหารอย่างอื่นเสริมเพื่อให้ได้คุณค่าที่ครบถ้วน”

คุณเบลล่าเสริมว่า “ผู้ป่วยควรทานให้เป็นหน้าที่ แต่ละวันให้ลองคิดเมนูอาหารว่าพรุ่งนี้อยากทานอะไร เพื่อให้เราสู้ยาได้ หากมีอาการคลื่นไส้ ก็สามารถขอยาแก้แพ้ เพื่อให้สามารถทานอาหารได้มากขึ้น หรือการแบ่งมื้อ กินน้อยๆ แต่กินบ่อยๆ
อีกหนึ่งประสบการณ์คือ มีช่วงระหว่างรักษา อยากจะทานอาหารเจ เลยทานเจไป 7 วัน พอถึงกำหนดที่จะรับยาเคมี ผลเลือดไม่ผ่าน ค่าเม็ดขาวแย่ ก็มาทราบสาเหตุว่า เพราะเราอดเนื้อสัตว์ กินแต่ผักทำให้เม็ดเลือดไม่เพียงพอ ทำให้แผนการรักษาต้องเลื่อนออกไป เพราะฉะนั้นผู้ป่วยควรพิจารณาให้ดีก่อนที่จะตัดสินใจว่าจะทานหรือไม่ทานอะไร”



นายแพทย์ชำนาญการ แพทย์เฉพาะทางศัลยศาสตร์ทั่วไปและศัลยศาสตร์มะเร็งวิทยา โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี งานเสวนา พลิกมุมมองใหม่ เพื่อรับมือกับโรคมะเร็งครั้งที่ 10

“ปกติคนไข้มะเร็งหรือคนไข้ที่อยู่ในระหว่างให้เคมีบำบัดหรือฉายแสง เราก็อยากจะให้ได้โปรตีน หรืออาหารที่มีพลังงานสูง แต่เนื่องจากคนไข้กลุ่มนี้จะทานได้น้อยอยู่แล้ว พอเวลาต้องทานเสริม เราก็อยากให้ได้ส่วนที่มีคุณภาพ หรือมีพลังงานหรือโปรตีนค่อนข้างสูง ถ้าถามว่าทานซุบไก่ได้ไหม ก็ทานได้ค่ะ ไม่มีข้อห้าม แต่ถ้าถามว่าประโยชน์มากน้อยแค่ไหน คือมากถึงพลังงานเท่าไหร่ เราก็ไม่มีตัววัดหรือรู้ค่าที่แน่นอน มันก็ถือเป็นหนึ่งในอาหารเสริมต่างๆ ซึ่งปัจจุบันก็มีอาหารเสริมต่างๆ ที่นอกเหนือจากที่เราทานให้ครบห้าหมู่แล้ว พวกอาหารเสริมทางการแพทย์ เช่น โปรชัว นม ก็มีโปรตีนสูงไม่แพ้กัน หรือเราสามารถเสริมจากอาหารที่ทำสด ปรุงสดได้

ส่วนอาหารหมักดองที่ผู้ป่วยถามว่าทานได้หรือไม่ เช่น ปลาร้า หรือ หน่อไม้ คุณหมอเห็นว่าในภาวะปกติ อาหารกลุ่มนี้ก็เป็นอาหารที่เราอยากให้หลีกเลี่ยง ไม่ควรทานเยอะแต่ถ้าอยู่ในการรักษาแล้วอยากทานจริงๆ ก็ทานได้นิดหน่อยแต่ต้องปรุงให้สุกสะอาด และทานอาหารอย่างอื่นเสริมเพื่อให้ได้คุณค่าที่ครบถ้วน”

คุณเบลล่าเสริมว่า “ผู้ป่วยควรทานให้เป็นหน้าที่ แต่ละวันให้ลองคิดเมนูอาหารว่าพรุ่งนี้อยากทานอะไร เพื่อให้เราสู้ยาได้ หากมีอาการคลื่นไส้ ก็สามารถขอยาแก้แพ้ เพื่อให้สามารถทานอาหารได้มากขึ้น หรือการแบ่งมื้อ กินน้อยๆ แต่กินบ่อยๆ
อีกหนึ่งประสบการณ์คือ มีช่วงระหว่างรักษา อยากจะทานอาหารเจ เลยทานเจไป 7 วัน พอถึงกำหนดที่จะรับยาเคมี ผลเลือดไม่ผ่าน ค่าเม็ดขาวแย่ ก็มาทราบสาเหตุว่า เพราะเราอดเนื้อสัตว์ กินแต่ผักทำให้เม็ดเลือดไม่เพียงพอ ทำให้แผนการรักษาต้องเลื่อนออกไป เพราะฉะนั้นผู้ป่วยควรพิจารณาให้ดีก่อนที่จะตัดสินใจว่าจะทานหรือไม่ทานอะไร”