มะเร็งหลอดอาหาร

ความร้ายแรง
   มะเร็งหลอดอาหารพบได้ไม่บ่อยนัก แต่มักมีความรุนแรง เนื่องจากมะเร็งชนิดนี้กระจายได้เร็ว และเป็นวงกว้าง ทําให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในระยะลุกลาม การรักษาให้หายขาดจึงทําได้ยาก

สาเหตุสําคัญ
   พบปัจจัยเสี่ยงที่สําคัญ ได้แก่ เชื้อชาติ (อุบัติการณ์จะสูงกว่าใน ชาวอิหร่าน โซเวียต และจีน), สุรา, บุหรี่, อาหารบางชนิด, โรคหลอดอาหารบางชนิด เช่น อะคาลาเชีย (ภาวะหูรูดหลอดอาหารไม่คลายตัว)

อาการสําคัญที่ผู้ป่วยต้องรีบมาพบแพทย์
   อาการกลืนลําบาก พบได้มากที่สุด ประมาณ 90% นอกจากนี้ มักพบว่ามี น้ำหนักลด อาเจียน เจ็บเวลากลืน ถ้ามีอาการเสียงแหบ หรือสําลัก แสดงว่ามีอาการลุกลามค่อนข้างมากแล้ว ดังนั้น ถ้ามี อาการเหล่านี้ ควรปรึกษาแพทย์แต่เนิ่นๆ เพื่อการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง

การตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคและหาระยะของโรคมะเร็งหลอดอาหาร
   มักเริ่มด้วยการซักประวัติ อาการ อาการแสดง รวมถึง การตรวจร่างกาย จากนั้นจะทําการส่องกล้องหลอดอาหารเพื่อนําชิ้นเนื้อมาตรวจ ต่อมาทําเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) เพื่อประเมินระยะของโรค

หลักการรักษา
   การผ่าตัดเป็นการผ่าตัดเอาหลอดอาหารส่วนที่เป็นมะเร็งออกไป มักทําในรายที่ยังมีการลุกลามไม่มาก การผ่าตัดนี้ต้องอาศัยความชํานาญในการผ่าตัดมาก ถือเป็นการผ่าตัดใหญ่เพราะมีการผ่าตัดเข้าทรวงอก ช่องท้องและคอ สําหรับผู้ป่วยที่อยู่ระยะลุกลาม มักให้ฉายแสงร่วมกับเคมีบําบัด (chemoradiation) ซึ่งปัจจุบันมีบทบาทมากขึ้นเนื่องจากผลการรักษาดีขึ้นมาก และกําลังจะเป็นการรักษาหลักในอนาคต ในรายที่ไม่สามารถผ่าตัดหรือให้ chemoradiation ได้ มักใส่ลวดขยาย (stent) เพื่อให้ผู้ป่วยกินอาหารได้ ทําให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ความรู้ที่สําคัญ
   เมื่อผู้ป่วยมีอาการกลืนลําบาก ควรรีบมากพบแพทย์ และทําการตรวจด้วยการส่องกล้อง การตรวจพบในระยะแรกเริ่มเป็นปัจจัยสําคัญในการรักษามะเร็งหลอดอาหาร

รศ.ดร.นพ.อัษฎา เมธเศรษฐ
ภาควิชาศัลยศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล