คำตอบจากแพทย์หญิง
กุลธิดา มณีนิล
และ
แพทย์หญิง จอมธนา ศิริไพบูลย์
จากงานเสวนา พลิกมุมมองใหม่
เพื่อรับมือกับโรคมะเร็งครั้งที่
7
และ
9
“ถ้าคนไข้มะเร็งอยู่ในวัยสืบพันธ์
แล้อยากมีลูกในอนาคตจะมีได้ไหม
คนไข้ที่เราเจอจะอยู่ในช่วงอายุ
20-35
ปี
เราก็อาจจะต้องแจ้งก่อนค่ะว่า
ยาเคมีอาจจะมีผล
โดยสามารถให้คำแนะนำได้สองกรณีค่ะ
คือ
1.
ถ้าอยู่ในช่วงแต่งงานแล้วเป็นมะเร็งช่วงนั้น
ต้องคุมกำเนิดดีๆ ค่ะ
เพราะว่ายาเคมีจะไปมีผลต่อลูกในท้อง
ซึ่งต้องระวัง
2.
ถ้ายังไม่มีแฟนแต่วางแผนไว้แล้วอยากจะมีในอนาคต
แล้วมะเร็งของเรามีโอกาสหายแน่ๆ
ก็อาจจะต้องวางแผนให้เก็บไข่
หรือสเปิร์มเป็นการวางแผนล่วงหน้า
เพราะยาเคมีสำหรับบางคนก็อาจจะมีผลช่วงหนึ่งที่ทำให้เป็นหมัน
ทำให้สปิร์มไม่แข็งแรง
ก็จะมีการทำธนาคารสปิร์ม
ช่วยเหลือเก็บไว้ก่อนในอนาคต
ส่วนการฉายแสงนั้นก็ไม่ได้ทำให้เป็นหมันนะคะ
เว้นแต่คนที่ฉายบริเวณอุ้งเชิงกราน
ช่องท้อง ก็อาจจะโดนรังไข่
ทำให้รังไข่ฝ่อได้
อย่างคนไข้ที่เป็นมะเร็งปากมดลูก
ก็จะไม่มีประจำเดือนเพราะรังไข่จะฝ่อไป
ผู้ชายก็เช่นกันค่ะ
หากเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
หรือ มะเร็งต่อมลูกหมาก
ก็อาจจะมีผลให้เป็นหมันได้ค่ะ
ประเด็นเรื่องมะเร็งสามารถถ่ายทอดไปสู่บุตรได้หรือไม่
มะเร็งบางชนิดมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมโดยเฉพาะค่ะ
ปัจจุบันในครอบครัวส่วนใหญ่เราจะมีการตรวจยีน
พิสูจน์ว่าผู้ป่วยคนนั้นมียีนนี้อยู่ในร่างกายหรือไม่
ซึ่งถ้ามียีนอันนี้เราก็จะให้คำปรึกษาอย่างแรกเลยว่า
ถ้ามีบุตรเราก็จะแนะนำให้พาบุตรมาตรวจด้วย
เพราะโรคมะเร็งบางชนิดสามารถป้องกันได้
เราอาจเคยได้ยินข่าว
ดาราดังบางท่าน อย่างคุณโจลี่ที่มีคุณแม่
และคุณยายเป็นมะเร็ง
ทำให้เธอตัดสินใจผ่าตัดมดลูก
และท่อรังไข่”