ฉายแสงกับกลืนแร่ ต่างกันอย่างไร?

คำตอบจากคุณหมอกิตติศักดิ์ ชมประเสริฐ จากงานเสวนาพลิกมุมมองใหม่เพื่อรับมือกับโรคมะเร็งครั้งที่ 11

“การใส่แร่หลักๆ ในปัจจุบันจะมีตัวชี้วัด 2 โรค คือ มะเร็งปากมดลูก กับมะเร็งต่อมลูกหมาก แต่ที่โรงพยาบาลเราไม่ได้ใส่ในต่อมลูกหมาก เพราะฉะนั้นทั้งหมดก็จะเป็นคนไข้มะเร็งปากมดลูก โพรงมดลูก มันต่างกันอย่างไร? ฉายแสง กับใส่แร่ ฉายแสงให้เรานึกว่ามันเป็น outside in คือการรังสีที่ตัวเครื่องฉายเข้าไปในตัวคนไข้ outside แล้ว in เข้าไป แต่การใส่แร่คือการนำกัมมันตรังสีเข้าไปวางไว้ประชิดก้อนที่สุด แล้วให้กัมมันตรังสีนั้นแผ่ออกมา เราก็เรียกว่า inside out คือแผ่จากข้างในออกมารอบนอก พอใส่เข้าไปปุ๊บ ในตำแหน่งที่ต้องการ เราก็ส่งให้นักฟิสิกส์ เค้าก็โหลดแร่ไปตามแผนว่าจะแผ่ระยะเท่าไหร่ ครอบคลุมอะไรบ้าง พอเราเอาคนไข้ไปโหลด คนไข้จะนอนอยู่ในห้องคนเดียว โหลดได้ตามโดสนั้นที่หมอต้องการ และเครื่องก็จะชักแร่กลับเข้าไปในตัวเครื่อง ถอดอุปกรณ์ออกจากช่องคลอดคนไข้ คนไข้ก็จะเดินเปล่ากลับบ้านไปเลย ไม่มีอะไรติดตัว อุ้มลูก อุ้มหลาน เข้าใกล้เด็กเล็กได้ตามปกติ ซึ่งอันนี้ไม่ใช่การฝั่งแร่เหมือนเมืองจีนนะครับ

อันนี้จริงๆ มันเรียกว่าเป็นการฝังแร่ ซึ่งการฝังแร่ ใส่แร่ มันก็จะแยกย่อยออกไปอีก ที่ผมเล่าเมื่อกี้ คือ เป็นการใส่แบบชั่วคราว ใส่แล้วก็ดึงแร่ออก อีกอันหนึ่งคือ การฝังถาวร อันนี้ก็คือจะเผาไปพร้อมศพเลย คือฝังแล้วไม่เอาออก ข้อบ่งชี้เดียว คือ มะเร็งต่อมลูกหมาก ก็คือจะฝังลงไปในต่อมลูกหมาก ฝังไว้ตลอดชีวิตไม่ได้นำออก ฝังไปจนหมดค่าครึ่งชีวิตของแร่ คือหมด Half-Life ของแร่ ทีนี้ การจะฝั่งบริเวณไหน มันต้องผ่านการคำนวณทุกอย่างมาเรียบร้อยแล้ว แต่เอาจริงๆ บางทีที่จีนเค้าก็ทำออกแนวเถื่อนๆ มันไม่เป็นไปตามหลัก Radio protection คือ ความปลอดภัยทางด้านรังสีนะครับ คือถ้ามันมา Explode กับคนอื่นก็จะเป็นอันตราย เพราะรังสีเป็นอะไรที่เรามองไม่เห็น มันไม่เหมือนอะไรที่มีแสงวาบ หรือทำให้เราร้อน อันนี้เรายังรู้ตัว แต่อันนี้เป็นอะไรที่เดินปะปนกับเรา โดยที่เราไม่มีทางรู้เลย”