เทคโนโลยีการรักษาแบบใหม่ช่วยให้หายจากมะเร็งได้จริงหรือ?

คำตอบจากแพทย์หญิงกาญจนา อารีรัตนเวช
นายแพทย์ชำนาญการ แพทย์เฉพาะทางศัลยศาสตร์ทั่วไปและศัลยศาสตร์มะเร็งวิทยา โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี งานเสวนา พลิกมุมมองใหม่ เพื่อรับมือกับโรคมะเร็งครั้งที่ 10

“จากกรณีของต่างประเทศที่ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายสามารถรักษามะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดได้ อันที่จริงคำว่าการรักษาด้วย “ภูมิคุ้มกันบำบัด” เป็นกลุ่มคำในกลุ่มกว้างๆ แต่ว่าในการรักษายังมีเทคโนโลยีอีกหลายชนิด บางชนิดมาในรูปแบบของยาที่ออกฤทธิ์ แต่หลักการก็คือ เป็นยาที่ฉีดเข้าไปเพื่อกระตุ้นในภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ออกมาจับ หรือต้านหรือสู้ที่มะเร็งนั้นเอง แต่ก็ยังมีอีกวิธีคือ การเอาเซลล์จากคนไข้ที่เป็นมะเร็งไปเพาะให้จับกับตัวที่กระตุ้นแล้วฉีดเข้าไปใหม่ เพื่อสู้กับมะเร็งหรือว่าจะเป็นยากลุ่มอื่น แต่ข้อมูลที่ได้ออกมาตอนนี้ยังเป็นการรักษาในกลุ่มของมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งผิวหนังเมลาโนม่า มะเร็งปอด แต่ว่ายังไม่ได้ใช้กับกลุ่มมะเร็งระยะแรก หรือขั้นต้น

แต่สำหรับมะเร็งอื่นๆ ด้วยความที่ผลตอบรับมันดีมาก จึงยังอยู่ในขั้นวิจัยเช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม แต่ว่าข้อมูลยังอยู่ในช่วงการศึกษาวิจัยอยู่ ส่วนผลว่าจะหายขาดหรือไม่ มันเป็นการเอาผลที่ดีที่สุดมาพูด ซึ่งจริงๆแล้วเผลคือป็นการคุมระยะของโรคให้นานขึ้น เพราะว่ายานำมาใช้กับกลุ่มในระยะ 4 เพราะยาที่ใช้รักษาไม่ตอบสนองต่อยาอื่นๆแล้ว ทำให้ควบคุมโรคได้นานขึ้น

ในส่วนเทคโนยีใหม่ๆของการผ่าตัด เช่น การส่องกล้อง การใช้หุ่นยนต์ ปัจจุบันการผ่าตัดแบบส่องกล้อง ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีการที่มีการพัฒนา จนข้อมูลเอามาเทียบว่าได้รับมาตราฐานที่ใกล้เคียงกับการผ่าตัดธรรมดา แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับระยะ และความเชี่ยวชาญของสถาบันนั้นๆ เช่น ก้อนเล็กๆ หรือการผ่าตัดในมะเร็งลำไส้ ซึ่งจะเป็นที่เล็กๆ สามารถทำได้จากอุปกรณ์ และเป็นระยะต้น ที่ไม่แพร่กระจาย หรือในเรื่องของมะเร็งเต้านมที่ลดภาวะแทรกซ้อนค่ะ”