ถูกควบคุมโดยกลไกอะไรในร่างกายของเรา
ทำความรู้จักกับมะเร็งให้มากขึ้น เพื่อที่เราจะได้รับมือกับมะเร็งได้อย่างถูกต้อง
ถูกควบคุมโดยกลไกอะไรในร่างกายของเรา
ทำความรู้จักกับมะเร็งให้มากขึ้น เพื่อที่เราจะได้รับมือกับมะเร็งได้อย่างถูกต้อง
ทำความรู้จักกับมะเร็งให้มากขึ้น เพื่อที่เราจะได้รับมือกับมะเร็งได้อย่างถูกต้อง
ทำความรู้จักกับมะเร็งให้มากขึ้น เพื่อที่เราจะได้รับมือกับมะเร็งได้อย่างถูกต้อง
คำตอบจากนายแพทย์วีรวุฒิ อิ่มสำราญ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติที่มาร่วมให้ความรู้ในงานเสวนา “พลิกมุมมองใหม่ เพื่อรับมือกับโรคมะเร็ง” ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561 ณ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ
เป็นมะเร็งจะรักษาหายไหม? ขึ้นอยู่กับปัจจัยดังนี้
1. ยิ่งตรวจพบเร็ว และมาพบแพทย์ เพื่อให้มีโอกาสที่จะวินิจฉัยโรค เและเริ่มทำการรักษาได้เร็ว โอกาสในการรักษาให้หายขาดก็ยิ่งสูง
2. ชนิดของโรค เนื่องจากมะเร็งมีหลายชนิด เช่น ในมะเร็งเต้านม ก็จะมีแยกเป็นชนิดในมะเร็งเต้านมอีก ซึ่งมะเร็งแต่ละชนิด ล้วนมีความรุนแรงที่ต่างกัน
3. ระยะของโรค หากรอให้อยู่ในระยะที่ลุกลามแล้วมาพบแพทย์ โอกาสในการหายขาดก็จะลดลง
4. สภาพพื้นฐานร่างกายของแต่ละคน หากเป็นคนที่มีพื้นฐานสุขภาพแข็งแรงมาก่อน เมื่อเข้ารับการรักษาประสิทธิภาพในการรักษาจะได้ผลที่ดีขึ้น หรือ แม้แต่ อายุของผู้ป่วยก็เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการรักษาให้หายขาดเร็ว
5. ท้ายสุด คือ กำลังใจ ซึ่งมาจากภายในของผู้ป่วย ผู้ป่วยหลายคนมีทัศนคติ ความเชื่อผิดๆว่า เป็นมะเร็งจะไม่มีโอกาสรอดชีวิต หรือ เห็นว่าการทำเคมีบำบัดให้แล้วอาจทำให้แย่ลง หรือ เชื่อในทางเลือกอื่นๆที่ยังไม่มีมาตราฐานรองรับหรือการวิจัยที่ถูกต้อง ก็จะส่งผลต่อการรักษาให้หายขาด
คำตอบจากคุณหมออุดมศักดิ์ และคุณหมอกิตต์วดี
“ความเครียดเนี่ยมีผลครับ
มีรายงานทางการแพทย์ว่า
ความเครียดจะทำให้ระบบภูมิต้านทานของร่างกายลดลงนะครับ เช่น
เวลาที่เราเกิดความเครียดร่างกายจะหลั่งสาร
เช่น สเตียรอยด์ คอร์ติซอล
ในร่างกายขึ้นมา
แล้วสารพวกนี้มันจะไปกดภูมิต้านทานของร่างกาย
ถ้าเราเป็นมะเร็งน้อยๆ เนี่ย
หากภูมิต้านทานเราดี
มันจะเคลียร์ไปได้
เพราะฉะนั้นถ้าเราทำภูมิต้านทานให้ดีมันก็จะเคลียร์ไปได้
ถ้าภูมิต้านทานไม่ดี มะเร็งน้อยๆ
มันก็จะค่อยๆ โตขึ้นมา
ถ้าโตจนเต็มที่ก้อนใหญ่ละ
ภูมิต้านทานมันก็จะทำอะไรไม่ได้ก็จะสายเกินไปละ
เพราะฉะนั้นผมว่าเรื่องจิตใจ
หรือความเครียดเนี่ยถ้าเราลดได้
ก็เหมือนเสริมภูมิต้านทานของร่างกายไปด้วยครับ
“จริงๆ
ก็อยากเสริมค่ะว่า
การเกิดมะเร็งมันไม่ได้เกิดจากสาเหตุใด
สาเหตุหนึ่ง เป็นหลัก
หรือเราเรียก Multi-factorial
คือ
เกิดได้จากหลายสาเหตุมาก
ไม่แน่ใจว่าเกิดจากสาเหตุอะไรกันแน่
โน่นนิด นี่หน่อย
ดังนั้นอย่างที่อาจารย์อุดมศักดิ์ได้เรียนไป
คือ การทำทุกทางรอบตัวเราให้ดี
สิ่งแวดล้อมดี การกินดี
ชีวิตความเป็นอยู่ดี
ลดความเครียด หลายๆ อย่างรวมกัน
ก็จะทำให้ร่างกายเราแข็งแรง ต่อสู้กับตัวเชื้อโรค
หรือว่าตัวมะเร็งได้ค่ะ
คำตอบจากอาจารย์ ด็อกเตอร์ เภสัชกร ศิวานนท์ จิรวัฒโนทัย ในงานเสวนา “พลิกมุมมองใหม่เพื่อรับมือกับโรคมะเร็ง” ครั้งที่ 6 ณ รพ.ศิริราช
“ณ เวลานี้ ยังไม่มีงานวิจัยหรือการทดลองในผู้ป่วยที่สามารถสรุปชัดเจนได้ว่า กัญชาสามารถรักษามะเร็งได้ ร้อยละ 99.9 ของงานวิจัย ที่ทำในหลอดทดลอง โดยใช้สารที่สกัดจากกัญชา เช่น Δ9‐tetrahydrocannabinol (THC) หรือ cannabidiol (CBD) (ไม่ได้เอากัญชาอย่างที่เรารู้จักมาทดลอง) ในการทดลอง
ผลการทดลองเรื่อง ฤทธิ์ของสารเคมีทั้งสองนี้ ต่อการยับยั้งมะเร็งด้านต่าง ๆ ในหลอดทดลองเช่น การเเบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง การกระจายตัวของเซลล์มะเร็ง การยับยั้งการสร้างหลอดเลือดของมะเร็ง การตายของเซลล์มะเร็งเหล่านี้ ให้ผล บวกบ้าง หรือไม่ได้ผลบ้างในบางกรณีก็เเสดงผลในการส่งเสริมคุณสมบัติของมะเร็งบ้าง จึงยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจน
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ, มกราคม 2563
มะเร็งเต้านม
มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งของผู้หญิงไทย และมีอุบัติการณ์การเกิดโรคสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง มะเร็งเต้านมเกิดจากความผิดปกติของเซลล์ที่อยู่ภายในท่อน้ำนมหรือต่อมน้ำนม เซลล์เหล่านี้มีการแบ่งตัวผิดปกติไม่สามารถควบคุมได้ มักแพร่กระจายไปตามทางเดินน้ำเหลืองไปสู่อวัยวะที่ใกล้เคียง
ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งเต้านม
มะเร็งเต้านมยังไม่พบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด แต่พบปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคได้มากขึ้น เช่น
อาการของมะเร็งเต้านม
มะเร็งเต้านมในระยะแรกอาจไม่มีอาการแสดงชัดเจน ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์ด้วยการคลำพบก้อน หรืออาจสังเกตได้จากขนาดหรือรูปร่างของเต้านมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น
ระยะของมะเร็งเต้านม
ระยะความรุนแรงของโรคมะเร็งเต้านมแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ขึ้นอยู่กับขนาดของก้อนมะเร็ง การแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งไปสู่ต่อมน้ำเหลือง หรืออวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย
จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่าการตรวจพบมะเร็งเต้านมตั้งแต่ระยะที่ 1-2 อัตราการอยู่รอด ที่ 5 ปี สูงถึง 85-99% แต่หากตรวจพบในระยะที่ 3 อัตราการอยู่รอดมีเพียง 4 -60% และจะลดลงเหลือ 18-20% หากตรวจพบในระยะที่ 4 ดังนั้นการตรวจหามะเร็งในระยะเริ่มต้นจะทำให้โอกาสที่จะรักษาให้หายขาดมีสูงขึ้น
การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
วิธีการตรวจคัดกรองเพื่อค้นหามะเร็งเต้านม มีอยู่ 3 วิธี ได้แก่ การตรวจเต้านมด้วยตนเอง (breast self examination : BSE) การตรวจเต้านมโดยแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับการฝึกอบรม (clinical breast examination: CBE) และการตรวจด้วยเครื่องถ่ายภาพรังสีเต้านม (mammography: MM)จากข้อมูลหลักฐานวิชาการ การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมระดับประชากร (mass screening) สรุปได้ดังนี้
ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปควรเริ่มตรวจเต้านมด้วยตนเองเดือนละครั้ง และควรจะต้องได้รับการบอกถึงประโยชน์และข้อจำกัดของการตรวจเต้านมด้วยตนเอง รวมทั้งได้รับการสอนการตรวจเต้านมด้วยตนเองที่ถูกวิธี และหากมีอาการที่สงสัยควรมีการตรวจโดยแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับการฝึกอบรม
ผู้หญิงที่มีอายุ 40-69 ปี และไม่มีอาการ นอกจากการตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำแล้ว ควรได้รับการตรวจโดยแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับการฝึกอบรมทุก 1 ปี
ผู้หญิงที่อายุ 70 ปีขึ้นไป การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมในผู้หญิงกลุ่มนี้ให้พิจารณาเป็นรายบุคคล โดยพิจารณาถึงความเป็นไปได้ของประโยชน์และอัตราการเสี่ยงของการตรวจด้วยเครื่องถ่ายภาพรังสีเต้านมในเรื่องของสภาวะสุขภาพในขณะนั้นและการมีชีวิตอยู่ต่อไป (life expectancy)
วิธีการรักษามะเร็งเต้านม
ปัจจุบันวิธีการรักษามะเร็งเต้านมมีหลายวิธีที่ได้ผลดีและเป็นที่ยอมรับ เช่น
การรักษามะเร็งเต้านมอาจต้องใช้หลายวิธีร่วมกัน โดยอยู่ภายใต้ดุลยพินิจของทีมแพทย์และความต้องการของผู้ป่วยเพื่อให้การวางแผนการรักษาผู้ป่วยได้รับประโยชน์สูงสุด เช่น ผ่าตัดก่อน หลังจากแผลหายจึงให้ยาเคมีบำบัด ต่อจากนั้นรักษาโดยการฉายแสงร่วมกับการให้ยาต้านฮอร์โมน ทั้งนี้ขึ้นกับระยะของโรค อายุและสุขภาพของผู้ป่วย เป็นต้น
ข้อควรปฏิบัติเพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงการเกิดมะเร็งเต้านม
หากจำเป็นต้องใช้ฮอร์โมนทดแทน ควรอยู่ในความควบคุมของแพทย์
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ, มกราคม 2563
มะเร็งปอด
มะเร็งปอดเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งทั่วโลก สำหรับประเทศไทยพบมากเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งตับและท่อนน้ำดี อัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยแตกต่างกันออกไปขึ้นกับระยะของโรค สุขภาพโดยรวม และปัจจัยอื่น ๆ โดยผู้ป่วยส่วนมากมักได้รับการวินิจฉัยเมื่อโรคดำเนินไปในระยะท้ายทำให้อัตราการรอดชีวิตมีน้อย
มะเร็งปอด เกิดจาก เซลล์ในเนื้อเยื่อปอดมีความผิดปกติเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วควบคุมไม่ได้แพร่กระจายไปสู่ส่วนอื่นของร่างกาย มะเร็งปอดแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ 2 ชนิด คือ ชนิดเซลล์ขนาดเล็ก (small cell lung cancer; SCLC) พบประมาณ 15% และชนิดเซลล์ที่ขนาดไม่เล็ก (Non-small cell lung cancer; NSCLC) ซึ่งในกลุ่มหลังนี้พบได้ 85% ของมะเร็งปอด
ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งปอด
อาการของมะเร็งปอด
ระยะเริ่มแรกของโรคไม่มีอาการใดที่บ่งชี้ได้อย่างชัดเจนว่าเป็นมะเร็งปอด แต่มีสัญญาณที่บ่งบอกถึงการเกิดโรคเมื่อมีการเจริญเติบโตของมะเร็งมากขึ้น เช่น
อย่างไรก็ตามอาการทั้งหมดเหล่านี้อาจไม่ใช่สาเหตุของมะเร็งที่ปอดเสมอไป แต่หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบปรึกษาแพทย์
การวินิจฉัยมะเร็งปอด
แพทย์จะสอบถามผู้ป่วยเบื้องต้นเกี่ยวกับสุขภาพโดยรวมร่วมกับการตรวจร่างกาย การหายใจ รวมไปถึงพิจารณาการตรวจเลือด เพื่อหาสาเหตุของอาการผิดปกติร่วมกับวิธีอื่น ๆ เช่น
วิธีการรักษามะเร็งปอด
เมื่อผู้ป่วยได้รับผลการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปอด แพทย์จะระบุวิธีการที่ใช้ในการรักษาซึ่งขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ชนิด ตำแหน่ง ขนาด และระยะของเซลล์มะเร็ง รวมถึงอายุ สภาพร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย ซึ่งการรักษาจะประกอบด้วย
ข้อควรปฏิบัติเพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงการเกิดมะเร็งเต้านม
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ, มกราคม 2563
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
มะเร็งต่อมน้ำเหลืองมีต้นกำเนิดมาจากต่อมน้ำเหลืองหรือเนื้อเยื่อน้ำเหลืองที่มีภาวะการเจริญเติบโตผิดปกติควบคุมไม่ได้ เซลล์เหล่านี้จะแพร่กระจายไปยังระบบน้ำเหลืองทุกบริเวณในร่างกาย อาการบ่งชี้ที่สำคัญ คือ ต่อมน้ำเหลืองบวม โต และมักไม่มีอาการเจ็บร่วมด้วย
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง แบ่งออกเป็น 2 ชนิดหลัก ๆ คือ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กิน (Hodgkin’s Lymphoma: HL) และมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนอนฮอดจ์กิน (Non-Hodgkin’s Lymphoma: NHL) โดยมะเร็งทั้ง 2 กลุ่มนี้มีอัตราการแพร่กระจายและอาจมีการตอบสนองต่อการรักษาที่แตกต่างกัน
ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งต่อน้ำเหลือง
ปัจจุบันนี้ยังไม่สามารถบอกสาเหตุของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้อย่างชัดเจนแต่พบมีความสัมพันธ์กับหลายภาวะ ได้แก่
อาการของมะเร็งต่อน้ำเหลือง
อาการบวมที่ต่อมน้ำเหลืองซึ่งมักไม่มีอาการเจ็บร่วมด้วย อาจพบบริเวณคอ ขาหนีบ รักแร้ ทั้งนี้อาการบวมที่เกิดขึ้นไม่จำเป็นต้องเป็นอาการบ่งชี้ของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเสมอไป แต่อาจบ่งชี้ถึงโรคชนิดอื่นหรือการติดเชื้อบริเวณต่อมน้ำเหลือง ดังนั้นหากพบว่าต่อมน้ำเหลืองมีลักษณะบวม โต ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุที่ถูกต้องทันที ผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองอาจมีอาการอื่นควบคู่ไปด้วย เช่น
การวินิจฉัยโรค
แพทย์จะทำการตรวจร่างกายผู้ป่วยเบื้องต้นเพื่อตรวจหาต่อมน้ำเหลืองที่บวม โต และตรวจหาสัญญาณอื่น ๆ ของโรคมะเร็ง โดยอาจวินิจฉัยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองร่วมกับวิธีอื่น ๆ ดังนี้
วิธีการรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง
การรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองจะมีความแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย โดยขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ระยะของโรค และสุขภาพของผู้ป่วย เป็นต้น ซึ่งผู้ป่วยอาจได้รับการรักษาโดยวิธีเดียวหรือใช้หลายวิธี ดังนี้
การดูแลป้องกันตนเอง
ควรปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตเพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดีและลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็ง ดังนี้
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ, มกราคม 2563
มะเร็งศีรษะและลำคอ
มะเร็งของศีรษะและลำคอ หมายถึง มะเร็งที่เกิดขึ้นบริเวณทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร เช่น ช่องปาก ช่องคอ ต่อมธัยรอยด์ ต่อมน้ำลาย โพรงหลังจมูก กล่องเสียง เป็นต้น อย่างไรก็ตามมีมะเร็ง 3 ชนิด ที่พบบ่อย ได้แก่
1. มะเร็งช่องปาก เซลล์มะเร็งอาจเกิดขึ้นได้ทั้งที่บริเวณริมฝีปาก ลิ้น เหงือก กระพุ้งแก้ม เพดานปาก หรือพื้นปาก โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักมีก้อนบริเวณคอ การเกิดฝ้าขาว ฝ้าแดงเรื้อรัง ภายในช่องปากปรากฏรอยสีขาวคล้ายกำมะหยี่ แดง หรือรอยด่างสีแดงขาว
2. มะเร็งกล่องเสียง เกิดขึ้นที่เนื้อเยื่อของกล่องเสียง
3. มะเร็งหลังโพรงจมูก เกิดที่ส่วนของลำคอที่เชื่อมกับด้านหลังของจมูกกับด้านหลังของปาก
ปัจจัยเสี่ยงศีรษะและลำคอ
โดยทั่วไปปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งศีรษะและลำคอมาจากการดื่มเหล้า การสูบบุหรี่ การเคี้ยวหมาก ตลอดจนการได้รับมลภาวะทางอากาศ นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่น ๆ เช่น ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง มีความผิดปกติทางพันธุกรรม
อาการของโรค
การวินิจฉัยโรค
ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมาพบแพทย์ในระยะท้าย ซึ่งเป็นระยะที่มะเร็งมีการลุกลามหรือกระจายไปยังอวัยวะอื่น ส่งผลต่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพลดลง ดังนั้นหากผู้ป่วยเริ่มรู้สึกถึงความผิดปกติของร่างกายควรรีบพบแพทย์โดยเร็ว
การรักษาโรค
มะเร็งศีรษะและลำคอสามารถรักษาให้หายได้หากตรวจพบตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก วิธีการรักษาหลักประกอบด้วย การผ่าตัด การฉายรังสีและการให้ยาเคมีบำบัด โดยการเลือกวิธีการรักษาในผู้ป่วยจะคำนึงถึงตำแหน่งและระยะโรคของมะเร็ง รวมถึงอายุ ภาวะสุขภาพของผู้ป่วย เป็นต้น
การป้องกันโรค
ความร้ายแรง
มะเร็งหลอดอาหารพบได้ไม่บ่อยนัก
แต่มักมีความรุนแรง
เนื่องจากมะเร็งชนิดนี้กระจายได้เร็ว
และเป็นวงกว้าง
ทําให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในระยะลุกลาม
การรักษาให้หายขาดจึงทําได้ยาก
สาเหตุสําคัญ
พบปัจจัยเสี่ยงที่สําคัญ
ได้แก่ เชื้อชาติ
(อุบัติการณ์จะสูงกว่าใน
ชาวอิหร่าน โซเวียต และจีน),
สุรา,
บุหรี่,
อาหารบางชนิด,
โรคหลอดอาหารบางชนิด
เช่น อะคาลาเชีย
(ภาวะหูรูดหลอดอาหารไม่คลายตัว)
อาการสําคัญที่ผู้ป่วยต้องรีบมาพบแพทย์
อาการกลืนลําบาก
พบได้มากที่สุด ประมาณ 90%
นอกจากนี้
มักพบว่ามี น้ำหนักลด อาเจียน
เจ็บเวลากลืน ถ้ามีอาการเสียงแหบ
หรือสําลัก แสดงว่ามีอาการลุกลามค่อนข้างมากแล้ว
ดังนั้น ถ้ามี อาการเหล่านี้
ควรปรึกษาแพทย์แต่เนิ่นๆ
เพื่อการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง
การตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคและหาระยะของโรคมะเร็งหลอดอาหาร
มักเริ่มด้วยการซักประวัติ
อาการ อาการแสดง รวมถึง
การตรวจร่างกาย
จากนั้นจะทําการส่องกล้องหลอดอาหารเพื่อนําชิ้นเนื้อมาตรวจ
ต่อมาทําเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์
(CT
scan)
เพื่อประเมินระยะของโรค
หลักการรักษา
การผ่าตัดเป็นการผ่าตัดเอาหลอดอาหารส่วนที่เป็นมะเร็งออกไป
มักทําในรายที่ยังมีการลุกลามไม่มาก
การผ่าตัดนี้ต้องอาศัยความชํานาญในการผ่าตัดมาก
ถือเป็นการผ่าตัดใหญ่เพราะมีการผ่าตัดเข้าทรวงอก
ช่องท้องและคอ
สําหรับผู้ป่วยที่อยู่ระยะลุกลาม
มักให้ฉายแสงร่วมกับเคมีบําบัด
(chemoradiation)
ซึ่งปัจจุบันมีบทบาทมากขึ้นเนื่องจากผลการรักษาดีขึ้นมาก
และกําลังจะเป็นการรักษาหลักในอนาคต
ในรายที่ไม่สามารถผ่าตัดหรือให้
chemoradiation
ได้
มักใส่ลวดขยาย (stent)
เพื่อให้ผู้ป่วยกินอาหารได้
ทําให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ความรู้ที่สําคัญ
เมื่อผู้ป่วยมีอาการกลืนลําบาก
ควรรีบมากพบแพทย์
และทําการตรวจด้วยการส่องกล้อง
การตรวจพบในระยะแรกเริ่มเป็นปัจจัยสําคัญในการรักษามะเร็งหลอดอาหาร
รศ.ดร.นพ.อัษฎา เมธเศรษฐ
ภาควิชาศัลยศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
มะเร็งกระเพาะอาหารในประเทศไทยมีอุบัติการณ์ประมาณ 1,000 รายต่อปี หรือพบเป็นอันดับ 8 ของมะเร็งทั้งหมด โดยมีปัจจัยเสี่ยงได้แก่ การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา การติดเชื้อ เฮลิโคแบคเตอร์ ไพลอริ โดยผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายโรคกระเพาะอาหาร เรื้อรังคลื่นไส้อาเจียนน้ำหนักลด ถ้าอาการเป็นมากขึ้นอาจมีอาเจียนเป็นเลือดหรือถ่ายดํา จนกระทั่งมีอาการซีด อ่อนเพลีย หน้ามืดวิงเวียนได้
การวินิจฉัย
ทําโดยการกลืนแป้งเพื่อเอกซเรย์ดูผิวกระเพาะหรือการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น
ซึ่งทั้งสองวิธีจะตรวจพบผิวกระเพาะขรุขระเป็นแผลหรือมีการหนาตัวขึ้นผิดปกติ
บางครั้งรอยโรคอาจแยกกับแผลโรคกระเพาะทั่วไปได้ยาก
การส่องกล้องและส่งตัวอย่างชิ้นเนื้อเยื่อผิวกระเพาะเพื่อตรวจทางพยาธิวิทยาจึงจําเป็นเพื่อให้ได้การวินิจฉัยที่ถูกต้องและรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
สําหรับประชาชนทั่วไปที่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวข้างต้น
แม้จะยังไม่มีอาการก็ควรได้รับการส่องกล้องเพื่อเป็นการตรวจคัดกรอง
(Screening
test)
ซึ่งหากพบมะเร็งกระเพาะอาหารระยะเริ่มแรกสามารถทําการรักษาโดยการส่องกล้องซึ่งได้ผลดี
มีผลแทรกซ้อนต่ำ
และหวังผลหายขาดได้ดังจะกล่าวต่อไป
การประเมินก่อนการรักษา
เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร
การประเมินเพื่อจะทําการรักษาประกอบด้วยการประเมินสภาพร่างกายทั่วไป
และประเมินสภาพของเนื้องอก
การประเมินสภาพร่างกายทั่วไปประกอบด้วยการตรวจเช็คความแข็งแรงของการทํางานของหัวใจและปอด
การตรวจเช็คเลือดทั่วไปและระดับสารอาหารในร่างกาย
ซึ่งจะมีผลต่อการรับการผ่าตัดและการให้ยาเคมีบําบัด
การประเมินระยะของมะเร็งเพื่อดูระยะการลุกลามของเนื้องอกที่ผนัง
กระเพาะและต่อมน้ำเหลืองที่อยู่รอบๆ
กระเพาะจนกระทั่งการกระจายในช่องท้อง
โดยใช้การตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
การรักษา
การรักษาผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหารจะแตกต่างกันไป
ขึ้นอยู่กับระยะของเนื้องอก
ซึ่งประกอบด้วยความลึกของเนื้องอก
การกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองรอบๆ
กระเพาะ
และการกระจายไปอวัยวะที่ห่างจากกระเพาะ
มะเร็งกระเพาะอาหารระยะต้นหรือระยะที่
1
คือมะเร็งที่กินลึกเพียงชั้นผิว
ไม่ลึกถึงกล้ามเนื้อกระเพาะ
ซึ่งเนื้องอกระยะนี้พบน้อยในประเทศไทย
เนื่องจากผู้ป่วยมักไม่มีอาการ
และประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับการตรวจคัดกรอง
ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้แก่ผู้ที่ดื่มสุราและสูบบุหรี่มาเป็นเวลานาน
ผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะเป็นๆ
หายๆ หรือรักษาโรคกระเพาะเต็มที่แล้วไม่ดีขึ้น
โดยเฉพาะผู้ที่อายุมากกว่า
40
ปีขึ้นไป
เนื่องจากมะเร็งกระเพาะอาหารระยะเริ่มแรก
มีโอกาสกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองต่ำ
ดังนั้นการรักษามะเร็งในระยะนี้สามารถทําได้โดยการตัดเพียงเนื้องอกที่ผิวกระเพาะ
โดยการส่องกล้องจึงเพียงพอและสามารถหวังผลหายขาดได้
มะเร็งกระเพาะอาหารระยะที่
2
และ
3
หรือมะเร็งระยะลุกลาม
คือระยะที่มะเร็งมีความลึกไปถึงชั้นกล้ามเนื้อหรือผิวด้านนอกของกระเพาะอาหาร
มะเร็งที่มีความลึกระดับนี้จะมีโอกาสกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองมากขึ้น
การรักษาหลักคือ
การผ่าตัดกระเพาะอาหารเอาส่วนที่เป็นมะเร็ง
และเลาะต่อมน้ำเหลืองที่อยู่แวดล้อมกระเพาะอาหารออก
ร่วมกับการให้ยาเคมีบําบัดหลังผ่าตัด
มะเร็งกระเพาะอาหารระยะที่
4
หรือมะเร็งระยะสุดท้าย
คือมะเร็งที่มีการกระจายออกไปยังอวัยวะที่ห่างจากกระเพาะ
หรือไม่ได้ติดต่อกับกระเพาะอาหารโดยตรง
การรักษามะเร็งในระยะนี้
แม้จะตัดกระเพาะ เลาะต่อมน้ำเหลือง
ให้ยาเคมีบําบัดต่อ
ก็มักไม่ได้เพิ่มความยืนยาวของอายุผู้ป่วยแต่อย่างใด
แนวโน้มจึงเป็นการรักษาเพื่อการประคับประคองให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในช่วงสุดท้ายของชีวิต
ความรู้ที่สําคัญ
การตรวจคัดกรองมะเร็งกระเพาะอาหารระยะเริ่มแรกมีความสําคัญมาก
หากพบว่ามีปัจจัยเสี่ยงหรือ
มีอาการโรคกระเพาะอาหารเรื้อรังเกิน
2
เดือน
อาจจะมีน้ำหนักลด
หรือมีลักษณะบ่งชี้ว่ามีเลือดออกในทางเดินอาหาร
ควรมารับการตรวจคัดกรองมะเร็งกระเพาะอาหาร
เพราะหากตรวจพบในระยะเริ่มแรก
การรักษาก็จะได้ผลดีมีผลแทรกซ้อนต่ำ
และหวังผลหายขาดได้
อ.ดร.นพ.จิรวัฒน์ สว่างศรี
ภาควิชาศัลยศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
เป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยในประเทศไทย เป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของผู้ป่วยชายไทย
โรคมะเร็งตับ มี 2 ประเภท
1. โรคมะเร็งตับปฐมภูมิ คือ มะเร็งที่เกิดจากเนื้อเยื่อของตับเอง แบ่งได้หลายชนิดตามชนิดของเนื้อเยื้อ ต้นกําเนิดมะเร็งตับปฐมภูมิที่พบบ่อยในประเทศไทย
1.1 มะเร็งจากเชลล์ตับ (Hepatocellularcarcinoma)
1.2 มะเร็งจากท่อน้ำดีในตับ (Cholangiocarcinoma)
2. โรคมะเร็งตับทุติยภูมิ คือ มะเร็งที่กระจายจากอวัยวะอื่นไปสู่ตับ
ปัจจัยเสี่ยง
- ภาวะตับแข็งจากทุกๆ สาเหตุ
- โรคตับอักเสบเรื้อรัง โดยเฉพาะไวรัสตับอักเสบบีและซี
- สารพิษที่พบปนเปื้อนจากเชื้อราในอาหารอบแห้ง (Aflatoxin) เช่น ถั่วลิสง ข้าวโพด กระเทียม ฯลฯ อาการ และ อาการแสดง
- ในระยะแรกของโรคมักไม่มีอาการ หรืออาการแสดงใดๆ
- อาการจุกแน่นลิ้นปี หรือชายโครงขวา เบื่ออาหาร น้ำหนักลด และมีไข้ โดยไม่มีสาเหตุอื่น
- คลําได้ก้อนใต้ชายโครงขวา
- เนื่องจากมะเร็งเซลล์ตับมักพบในผู้ป่วยที่มีภาวะตับแข็ง ผู้ป่วยจึงมักมีอาการ และอาการแสดงของภาวะตับแข็งด้วย เช่น ตาเหลือง บวม ท้องมาน อาเจียนเป็นเลือด
การวินิจฉัย
- ตรวจเลือดพบความผิดปกติของการทํางานของตับ และอาจพบระดับอัลฟาฟี โตโปรตีน (AFP) สูงผิดปกติ
- ตรวจพบก้อนที่ตับจากอุลตราซาวด์ (US), เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) หรือคลื่นแม่เหล็ก (MRI)
การรักษา
การรักษามีหลายวิธีจําเป็นต้องประเมินโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย เนื่องจากมีปัจจัยที่ต้องคํานึงถึงมากมาย
การรักษาที่มีหลักฐานทางการแพทย์รับรอง ได้แก่
- การผ่าตัดตัดตับบางส่วน (Hepatectomy), การผ่าตัดเปลี่ยนตับ (Liver transplantation), การจี้ทําลายมะเร็งตับ (ablative therapy) ได้แก่ การใช้คลื่นเสียง (REA), การใช้แอลกอฮอล์ (PEI) เป็นต้น
- การฉีดยาเคมีร่วมกับการอุดเส้นเลือดแดงที่เข้าไปเลี้ยงมะเร็งตับ (TACE)
การป้องกัน
- หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อภาวะตับแข็งและมะเร็งเซลล์ตับ
- ผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบีและซี และผู้ป่วยภาวะตับแข็ง ควรเข้ารับการตรวจเฝ้าระวังการเกิดมะเร็งเซลล์ตับเป็นประจํา
- เมื่อมีอาการที่เข้าได้กับภาวะตับแข็ง ควรรีบพบแพทย์
ปัจจัยเสี่ยง
- การรับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ เช่น ก้อยปลา ฯลฯ เนื่องจากมีพยาธิใบไม้
ปัจจัยเสี่ยงสําคัญ
- โรคที่มีการคั่งของน้ำดีเรื้อรัง เช่น โรคท่อน้ำดีโป่งพองแต่กําเนิด
อาการ และอาการแสดง
- จุกแน่นลิ้นปี่ หรือชายโครง เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
- ตาเหลือง คันตามตัว อุจจาระสีซีด ปัสสาวะเข้ม จากท่อน้ำดีอุดตัน
การวินิจฉัย
- ตรวจและวินิจฉัยแบบเดียวกับมะเร็งเซลล์ตับ แต่จะมีลักษณะภาพรังสีวินิจฉัยที่ต่างกัน
การรักษา
- การรักษาที่หายขาดมีวิธีเดียว คือ ผ่าตัดตับออกบางส่วน
- ในกรณีที่ผ่าตัดตับไม่ได้อาจให้การรักษาเพื่อบรรเทาอาการดีซ่าน เช่น ใส่ท่อ ระบายน้ำดี หรือเจาะระบายน้ำดีออกทางหน้าท้อง
การป้องกัน
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ
- ผู้ป่วยที่อยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของพยาธิใบไม้ในตับ เช่น ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ควรตรวจอุจจาระหาการติดเชื้อ และรักษาด้วยยาฆ่าพยาธิ
รศ.ดร.นพ.ยงยุทธ ศิริวัฒนอักษร
ภาควิชาศัลยศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ความสําคัญ
มะเร็งตับอ่อนเป็นมะเร็งที่พบได้ไม่บ่อยนัก ไม่จัดอยู่ในโรคมะเร็งที่พบบ่อย 10 อันดับแรก แต่เป็นมะเร็งที่มีอัตราการเสียชีวิตจากโรคสูงเป็นอันดับ 4 ของการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งทั้งหมด ในระยะแรกผู้ป่วยส่วนมากไม่มีอาการ หรือมีอาการที่ไม่จําเพาะ ทําให้วินิจฉัยได้ช้า ผู้ป่วยส่วนมากได้รับการวินิจฉัยในระยะที่โรคลุกลามไปแล้ว ทําให้ไม่สามารถผ่าตัดได้ ผลการรักษาในปัจจุบันยังไม่ดีนัก ทําให้ผู้ป่วยส่วนมากเสียชีวิตจากตัวโรคเอง
สาเหตุ
โรคมะเร็งตับอ่อนยังไม่ทราบชัดเจน แต่พบปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยง ได้แก่
1. อายุที่สูงขึ้นก็จะมีโอกาสเป็นมะเร็งมากขึ้น โดยทั่วไปมักพบในผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป
2. การสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งหลายชนิดรวมทั้งมะเร็งตับอ่อนด้วย
3. โรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง
4. พันธุกรรมบางชนิดที่ส่งผลให้มีเนื้องอก และ/หรือมะเร็ง
อาการและอาการแสดง
ผู้เป็นโรคมะเร็งตับอ่อน ไม่มีอาการและอาการแสดงเฉพาะ ผู้ป่วยส่วนมากมักไม่มีอาการเมื่อเริ่มเป็นโรค อาการมักเกิดหลังโรคลุกลามแล้ว โดยอาการที่พบได้แก่ อาการปวดท้องใต้ลิ้นปี่ ซึ่งมักปวดไม่รุนแรงในระยะแรก อาจมีอาการปวดหลังร่วมด้วย ถ้าเป็นมะเร็งที่ส่วนหัวของตับอ่อน ผู้ป่วยอาจมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง (โรคดีซ่าน) จากการที่ก้อนเนื้อมะเร็งกดเบียดท่อน้ำดี อาการคันตามตัวทั่วๆ ไป ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ผอมลง โดยไม่มีสาเหตุ
การวินิจฉัย
โรคมะเร็งตับอ่อนเป็นโรคมะเร็งที่วินิจฉัยได้ยาก เพราะอาการ และอาการแสดงไม่เฉพาะเจาะจง การซักประวัติและการตรวจร่างกายไม่สามารถให้การวินิจฉัยได้ ต้องอาศัยการตรวจพิเศษทางรังสีวิทยา โดยในเบื้องต้นอาจใช้อัลตราซาวด์ แต่การตรวจที่จําเป็นต้องใช้ในการวินิจฉัย (และใช้ในการวางแผนการรักษา) คือการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) และ/หรือการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) นอกจากนี้อาจมีการเจาะเลือดหา
การรักษา
การผ่าตัดเป็นการรักษาที่ให้ผลการรักษาดีที่สุด แต่ผู้ป่วยส่วนมากมาพบแพทย์ในระยะที่โรคลุกลามไปมากแล้ว ทําให้ไม่สามารถให้การรักษาด้วยการผ่าตัดได้ มีเพียง 15-20 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยเท่านั้นที่สามารถผ่าตัดได้ ในกรณีที่โรคลุกลามไปแล้ว อาจพิจารณารักษาด้วยการให้เคมีบําบัดร่วมกับรังสีรักษาในบางราย ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการดีซ่านอาจให้การรักษาด้วยการส่องกล้องเพื่อขยายท่อน้ำดี และใส่ท่อระบายน้ำดี ซึ่งจะทําให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ผลการรักษา
ผลการรักษาโรคมะเร็งตับอ่อนยังไม่ดีนัก ในกรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ ผู้ป่วยส่วนมากมักเสียชีวิตใน 4-6 เดือน ในกรณีที่ผ่าตัดได้ก็ยังมีโอกาสกลับเป็นใหม่ของโรคได้ อัตราการอยู่รอดที่ 5 ปีประมาณ 15-20 เปอร์เซ็นต์
ความเชื่อผิดๆ
ปัจจุบันมีการตรวจคัดกรองมะเร็งด้วยการเจาะเลือดหาสารบ่งชี้มะเร็งได้แก่ CEA และ CA19-9 การตรวจนี้ไม่แนะนําสําหรับบุคคลทั่วไป เนื่องจากมะเร็งตับอ่อนพบได้น้อย นอกจากนี้การตรวจ CEA และ CA19-9 เป็นการตรวจที่ไม่ไวพอ ผู้ป่วยอาจเป็นมะเร็งระยะท้ายโดยที่ผลเลือดปกติก็ได้ ในทางตรงกันข้ามอาจมี CEA และ CA19-9 สูงกว่าปกติโดยที่ไม่เป็นมะเร็งก็ได้ ซึ่งผู้ป่วยเหล่านี้ ต้องได้รับการตรวจอีกมากมายจนกว่าจะสามารถบอกได้ว่าไม่เป็นมะเร็ง ทําให้เสียเงิน เสียเวลา และได้รับความเสี่ยงจากการตรวจ และที่สําคัญที่สุด ทําให้ต้องวิตกกังวลอย่างมากโดยไม่จําเป็น
ผศ.นพ.สมชัย ลิ้มศรีจำเริญ
ภาควิชาศัลยศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
มะเร็งท่อน้ำดี
(Cholangiocarcinoma)
เป็นมะเร็งที่เกิดจากเซลล์เยื่อบุผิวภายในท่อน้ำดีเจริญเติบโตอย่างผิดปกติ
จนอาจไปกดเบียดหรือลุกลามอวัยวะข้างเคียง
ซึ่งประกอบด้วยตับ ตับอ่อน
หรือลําไส้เล็กส่วนต้น
ชนิดของมะเร็งท่อน้ำดี
เนื่องจากท่อน้ำดีนั้นมีทั้งส่วนที่วางตัวอยู่ในตับ และออกมานอกตับ จึงแบ่งชนิดของมะเร็งท่อน้ำดีเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ
1. มะเร็งท่อน้ำดีในตับ
2. มะเร็งท่อน้ำดีนอกตับ
สาเหตุของมะเร็งท่อน้ำดี
ปัจจุบันสาเหตุของมะเร็งท่อน้ำดียังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่พบว่ามีหลายปัจจัยสภาวะที่ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ของเซลล์ท่อน้ำดี จนทําให้เกิดการเติบโตอย่างผิดปกติ กลายเป็นมะเร็งท่อน้ำดีได้ เช่น นิ่วในทางเดิน น้ำดีในตับ พยาธิใบไม้ตับ การอักเสบเรื้อรังภายในท่อน้ำดี ภาวะการอักเสบเรื้อรังของลําไส้ใหญ่ และสารเคมีบางชนิด เป็นต้น
อาการและอาการแสดง
ผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีในตับและนอกตับ จะมีอาการ อาการแสดงต่างกัน ในกรณีของมะเร็งท่อน้ำดีในตับนั้น โดยทั่วไปผู้ป่วยมักจะไม่มีอาการผิดปกติ จนกระทั่งมะเร็งมีขนาดใหญ่จนกดเบียดอวัยวะข้างเคียงหรือ ทางเดินน้ำดีจนอุดตันทําให้มีอาการปวดแน่นท้อง ตัวตาเหลือง เป็นต้น ส่วนกรณีของมะเร็งท่อน้ำดีนอกตับจะเริ่มมีอาการจากการที่มีการอุดตันของท่อน้ำดี ทําให้มี อาการตัวตาเหลืองหรือที่เรียกว่าดีซ่าน (Jaundice) คันตามตัว อุจจาระสีซีดลงได้ โดยอาจไม่มีอาการปวดแน่นท้องมาก่อนเลย จะเห็นได้ว่าอาการของมะเร็งท่อน้ำดีในระยะต้นนั้นมักจะน้อยและไม่ค่อยจําเพาะ จึงทําให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มารับการรักษามักจะเป็นมะเร็งท่อน้ำดีที่มีขนาดใหญ่หรือเริ่มมีการลุกลามแล้ว
การวินิจฉัยโรค
นอกจากอาการและอาการแสดงดังกล่าวข้างต้น การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ช่วยในการวินิจฉัยประกอบด้วย การตรวจภาพรังสีวินิจฉัย อัลตราซาวนด์ (Ultrasonography) เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed Topography – CT) การตรวจเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging – MRI) โดยการตรวจภาพวินิจฉัยแต่ละชนิดก็จะมีความแม่นยํา และจําเพาะแตกต่างกันไป โดยดุลพินิจในการส่งตรวจขึ้นอยู่กับแพทย์ผู้รักษา
โดยทั่วไปแล้วการตรวจเลือดเพื่อดูค่าการทํางานของตับ (Liver function test) หรือสารบ่งชี้มะเร็ง (Tumor marker) ในผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีระยะแรกนั้นมักจะไม่พบความผิดปกติ ดังนั้นจึงไม่ค่อยมีประโยชน์ในการช่วยวินิจฉัย
การรักษา
การรักษาหลักของมะเร็งท่อน้ำดีคือการผ่าตัด กรณีของมะเร็งท่อน้ำดีในตับ การผ่าตัดจะประกอบด้วยการผ่าตัดตับ (Hepatic resection/ Hepatectomy) ส่วนในกรณีของมะเร็งท่อน้ำดีนอกตับ การผ่าตัดจะประกอบด้วยการผ่าตัดตัดท่อทางเดินน้ำดี (Bile duct resection) อาจต้องมีการผ่าตัดตับ หรืออาจต้องผ่าตัดตับอ่อนและลําไส้เล็กส่วนหนึ่งร่วมด้วย (Pancreaticoduodenectomy) ถ้ามะเร็งท่อน้ำดีมีการลุกลามมาที่บริเวณดังกล่าว
เนื่องจากผลในการรักษาด้วยยาเคมีบําบัดหรือฉายแสงรักษาในปัจจุบันนั้น ยังไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร จึงไม่ได้ใช้เป็นการรักษาหลัก แต่อาจใช้เป็นการรักษาร่วมในกรณีก่อนผ่าตัดหรือหลังผ่าตัด
ผลการรักษา
ในปัจจุบันผลการรักษาของมะเร็งท่อน้ำดียังไม่สู้ดีนักเนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมาพบแพทย์เมื่อมะเร็งท่อน้ำดีมีขนาดใหญ่หรือลุกลามแล้ว ดังนั้น จึงพบว่ามีผู้ป่วยเพียง 1 ใน 4 เท่านั้น ที่สามารถทําการผ่าตัดได้ โดยถ้าสามารถผ่าตัดเอามะเร็งท่อน้ำดีออกได้หมดจะมีอัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปีอยู่ที่ประมาณ 10-40% แต่ถ้าพบว่ามีการลุกลามไปแล้ว อัตราการรอดชีวิตจะต่ำกว่านั้นมาก
การป้องกัน
เนื่องจากไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด ทําให้การป้องกันการเกิดโรคเป็นไปได้ยาก แต่เราสามารถป้องกันหรือลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งท่อน้ำดีได้โดยการหลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่ผ่านการปรุงสุก เช่น ปลาน้ำจืดดิบ การสูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงการใช้ยาหรือสารเคมีที่ไม่จําเป็น
อ.นพ.ประวัฒน์ โฆสิตะมงคล
ภาควิชาศัลยศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
มะเร็งกระเพาะปัสสาวะเป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในมะเร็งของระบบขับถ่าย มะเร็งปัสสาวะพบมากในเพศชาย ในช่วงอายุ 50-70 ปี เกิดจากเยื่อบุภายในกระเพาะปัสสาวะมีการแบ่งตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติจนกลายเป็นก้อนเนื้อขึ้นมา ก้อนเนื้อนี้ สามารถเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ และแผ่ขยายลุกลามออกไปยังอวัยวะและต่อมน้ำเหลืองข้างเคียงได้หากไม่ได้รับการรักษาให้ถูกต้อง
สาเหตุ
สาเหตุที่แท้จริงของมะเร็งยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็ง ปัจจัยที่สําคัญที่สุด คือ การสูบบุหรี่ เพราะควันบุหรี่มี สารก่อมะเร็งที่สามารถดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิตและขับถ่ายออกทางกระเพาะปัสสาวะได้ การสูบบุหรี่จึงทําให้กระเพาะปัสสาวะสัมผัสกับสารก่อมะเร็งโดยตรง ส่วนปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ก็ยังมีผู้ที่ทํางานเกี่ยวกับสี และสารเคมีที่มีส่วนประกอบของสารอะนีลีน (aniline) หรือไฮโดรคาร์บอน เช่น สีย้อมผ้า สีย้อมผม อุตสาหกรรมเสื้อผ้าและผู้บริโภคขัณฑสกร นอกจากนี้การระคายเคืองและการอักเสบเนื่องจากก้อนนิ่วหรือติดเชื้อพยาธิชนิดหนึ่งที่ชอบไข่อยู่ตามผนังในกระเพาะปัสสาวะจะกระตุ้นให้เซลล์เยื่อบุในทางเดินปัสสาวะเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็งขึ้น และผู้ที่เคยรักษามะเร็งอย่างอื่นด้วยวิธีการฉายแสงบริเวณเชิงกรานหรือด้วยเคมีบําบัด ก็เป็นสาเหตุชักนําให้เกิดโรคนี้ได้
อาการ
อาการที่น่าสงสัยและผู้ป่วยควรจะรีบไปพบแพทย์คือ ส่วนใหญ่ปัสสาวะเป็นเลือดโดยไม่มีอาการเจ็บปวด ถ้าเป็นรุนแรงอาจจะเป็นเลือดสดๆ ถ้าไม่รุนแรงอาจมีสี เหมือนน้ำล้างเนื้อ บางรายอาจมีเพียงปัสสาวะบ่อยและมีอาการปวดขณะเบ่งปัสสาวะ โดยปวดบริเวณท้องน้อยหรือปลายท่อปัสสาวะ ส่วนในระยะลุกลามจะมีอาการปวด และบางรายมีการอุดตันของท่อไตทําให้มีอาการของภาวะไตวายและปวดหลังได้ด้วย
การวินิจฉัย
การวินิจฉัยแยกโรคเนื่องจากอาการดังกล่าวอาจจะเกิดจากโรคอย่างอื่นได้ เช่นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ดังนั้นไม่ควรวิตกกังวลเกินไป ควรพบแพทย์ระบบปัสสาวะเพื่อวินิจฉัยให้แน่นอน หลังจากแพทย์ซักประวัติและตรวจร่างกายแล้ว จะให้เก็บปัสสาวะตรวจทางห้องปฏิบัติการ เมื่อพบมีเม็ดเลือดหรือเซลล์มะเร็งปะปนอยู่ ควรได้รับการตรวจโดยการส่องกล้องขนาดเล็กสอดผ่านท่อปัสสาวะเข้าไปสํารวจภายในกระเพาะปัสสาวะ โดยทั่วไปการตรวจดูด้วยกล้องมักบอกได้ค่อนข้างแน่นอนว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ แต่ในกรณีที่สงสัยแพทย์ก็จะนําชิ้นเนื้อชิ้นเล็กๆ ไปตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยัน ในผู้ป่วยบางรายอาจมีความจําเป็นต้องตรวจด้วยการถ่ายภาพ ทางรังสีกระเพาะปัสสาวะ หรือเครื่องตรวจอย่างอื่น เช่น เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ เครื่องตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็ก เป็นต้น
การรักษา
การรักษาขึ้นอยู่กับระยะของโรค โดยทั่วไปแล้วการรักษาประกอบด้วย เป็นน้อย ใช้การส่องกล้องตัด มักตัดออกได้หมดกรณีมีการลุกลามไปถึงผนังของกระเพาะปัสสาวะและอวัยวะข้างเคียง การรักษาทําได้โดยการผ่าตัดเอากระเพาะปัสสาวะพร้อมกับอวัยวะข้างเคียงส่วนที่มีโรคลุกลามไปออกจนหมด และตัดเอาบางส่วนของลําไส้มาดัดแปลงเป็นกระเพาะปัสสาวะให้ใหม่ ผู้ป่วยจะยังคงถ่ายปัสสาวะได้ปกติทางท่อปัสสาวะ แต่บางรายจําเป็นต้องมีปัสสาวะออกทางปลายลําไส้ที่นํามาเปิดออกทางหน้าท้อง และถ้าเป็นมาก ลุกลามไปมากกว่านั้นคงช่วยได้ทางเคมีบําบัดและรังสีรักษา
วิธีการป้องกัน
1. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ โดยเฉพาะการสูบบุหรี่ก่อนนอน เพราะจะมีการคั่งค้างของสารก่อมะเร็งอยู่ใน กระเพาะปัสสาวะเป็นเวลานาน
2. หากปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรมสี ยาง และสายไฟฟ้าและพลาสติก ควรระวังขณะกินอาหารเพราะสีอาจติดมือปะปนอยู่ในอาหารได้ ฉะนั้นจึงควรล้างมือให้สะอาดก่อนกินอาหารทุกครั้ง
3. เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีวิธีตรวจคัดกรองโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะตั้งแต่ยังไม่มีอาการ ดังนั้นเมื่อมีอาการผิดปกติโดยเฉพาะเมื่อมีเลือดปนออกมาในปัสสาวะ ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาแต่เนิ่นๆ
รศ.นพ.ธวัชชัย ทวีมั่นคงทรัพย์
ภาควิชาศัลยศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
โรคมะเร็งลําไส้ใหญ่จัดได้ว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มโรคมะเร็งของระบบทางเดินอาหารที่พบได้บ่อย ทั้งในเพศหญิงและชาย โดยเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดใน 5 อันดับแรกของมะเร็งทุกชนิดรวมกัน และยังเป็นมะเร็งที่มีอัตราการตายสูงในอันดับต้นๆ เช่นกัน
จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคมะเร็งลําไส้ใหญ่
ในระยะเริ่มแรกมักจะไม่มีอาการใดๆ จนเมื่อก้อนเนื้องอกโตขึ้น จนมีขนาดพอสมควร จึงก่อให้เกิดอาการเริ่มต้น ได้แก่ ปวดท้อง ท้องเสียหรือท้องผูกอย่างไม่มีเหตุผล ซีดอันสืบเนื่องมาจากการเกิดแผล และมีเลือดออกเรื้อรัง ถ่ายอุจจาระมีมูกปนเลือด ถ่ายกะปริดกะปรอย ปวดเบ่งหรือมีความรู้สึกอยากถ่ายอุจจาระตลอดเวลา บางครั้งก้อนอาจมีขนาดใหญ่มากจนสามารถคลําก้อนที่หน้าท้องได้ด้วยตนเอง และเมื่อก้อนลุกลามจนอุดกั้นทางเดินอุจจาระของลําไส้ใหญ่ ก็จะส่งผลให้เกิดการตีบตัน จนไม่สามารถถ่ายอุจจาระหรือผายลมได้ หากมิได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ลําไส้อาจแตกทะลุได้
จะมีวิธีการตรวจหาว่าเป็นโรคมะเร็งลําไส้ใหญ่ได้อย่างไร
การตรวจอย่างง่าย เช่น การตรวจหาการปนเปื้อนของเลือดในอุจจาระ เป็นการตรวจสุ่มเบื้องต้นอัน เป็นที่นิยม และหากพบผลบวกที่แสดงว่ามีการปนเปื้อนของเลือดในอุจจาระ แพทย์ จะส่องกล้องตรวจเยื่อบุผนังลําไส้ใหญ่ภายในว่ามีแผลตุ่มผิดปรกติ หรือก้อนเนื้องอกอยู่หรือไม่ พร้อมทั้งสามารถเก็บชิ้นเนื้อขนาดเล็ก เพื่อส่งตรวจพิสูจน์ทางพยาธิวิทยาว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ อันเป็นการยืนยันการวินิจฉัย และเป็นข้อมูลประกอบการวางแผนการรักษาต่อไป การตรวจพิเศษทางรังสีวิทยา เช่น การตรวจช่องท้อง หรือทรวงอกด้วยเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ เป็นการช่วยประเมินตําแหน่งของก้อนเนื้องอกก่อนการผ่าตัด รวมทั้งระยะการลุกลามของโรคว่ามีต่อมน้ําเหลืองโต หรือโรคกระจายไปยังอวัยวะอื่น เช่น ตับ และปอดหรือไม่ ส่วนการตรวจเลือด เป็นการประเมินสภาพความพร้อมของร่างกาย อีกทั้งการตรวจค่าโปรตีนบางชนิด เช่น ค่าซีอีเอ (CEA ย่อมาจาก carcinoembryonic antigen) ซึ่งสามารถใช้เป็นเครื่องมือติดตาม หากมีการกลับเป็นซ้ำของโรคมะเร็งลําไส้ใหญ่ภายหลังการผ่าตัดได้
การรักษาโรคมะเร็งลําไส้ใหญ่มีวิธีใดบ้าง
การผ่าตัดเป็นการรักษาหลักของโรคมะเร็งลําไส้ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดเปิดแผลแบบดั้งเดิม หรือการผ่าตัดผ่าน การส่องกล้อง ซึ่งเป็นเทคนิคที่ลดความเจ็บปวด บาดแผลขนาดเล็กลง และใช้เวลาพักฟื้นที่สั้นกว่า นอกจากนั้น ยังมีการให้ยาเคมีบําบัดและการให้รังสีรักษา ซึ่งเป็นการรักษาเสริม ก่อนหรือหลังการผ่าตัด ตามความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละรายไป
โรคมะเร็งลําไส้ใหญ่เกิดจากอะไร มีวิธีป้องกันหรือไม่
จากการศึกษาพบว่า โรคมะเร็งลําไส้ใหญ่ส่วนมากมีความสัมพันธ์โดยตรงกับพฤติกรรมการบริโภค ได้แก่ การกินอาหารที่มีไขมันสัตว์สูง ปริมาณเส้นใยอาหารต่ำ ร่วมกับการออกกําลังกายน้อย มีดัชนีมวลกายสูงกว่าปรกติ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จึงนับเป็นความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งลําไส้ใหญ่ ในขณะที่โรคมะเร็งลําไส้ใหญ่น้อยกว่าร้อยละ 5 ที่เกิดมาจากปัจจัยการถ่ายทอดหรือโรคทางพันธุกรรม การป้องกันโรคมะเร็งลําไส้ใหญ่จึงกระทําได้ด้วยการบริโภคอาหารที่มีปริมาณเส้นใยอาหารสูง ประเภทธัญพืช ผัก ผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสัตว์ รวมทั้งหมั่นออกกําลังกายเป็นประจํา และหากมีความเสี่ยง เช่น มีบุคคลใกล้ชิดในครอบครัวจํานวน 2 คนขึ้นไปเป็นโรคมะเร็งลําไส้ใหญ่ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจที่เหมาะสมต่อไป
อ.ดร.นพ.วิทูร ชินสว่างวัฒนกุล
ภาควิชาศัลยศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ในชายวัยทองที่อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป มีโอกาสที่จะเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากได้ ต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะที่สําคัญของระบบสืบพันธุ์ชาย ซึ่งมีรูปร่างคล้ายๆ กับลูกเกาลัด มีขนาดกว้าง 3-4 เซนติเมตร เมื่ออายุมากขึ้นต่อมลูกหมากจะโตขึ้นและมี โอกาสเกิดมะเร็งได้มากขึ้นตามลําดับ พบว่าชายในประเทศที่มีการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง จะพบอุบัติการณ์เกิดขึ้นมาก เช่นในแถบประเทศตะวันตก ส่วนในประเทศไทยนั้นจะพบมากขึ้น ในปัจจุบัน มะเร็งต่อมลูกหมากจะแบ่งได้เป็น 4 ระยะ ในระยะที่ 1 และ 2 นั้น มะเร็งจะยังอยู่ในต่อมลูกหมาก ซึ่งจะยังไม่แสดงอาการใดๆ ในระยะที่ 3 มะเร็งจะมีขนาดใหญ่ขึ้นจนอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ และเริ่มจะลุกลามออกนอกต่อมลูกหมาก ผู้ป่วยอาจจะมีอาการปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะลําบาก เบ่งปัสสาวะไม่ออก หรือปัสสาวะเป็นเลือดได้ ในระยะที่ 4 มะเร็งจะลุกลามไปบริเวณต่อมน้ำเหลืองและกระดูก ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย ปวดตามกระดูกและข้อ น้ำหนักลด หรือเป็นมากๆ อาจจะทําให้เป็นอัมพาตจากการหักของกระดูกสันหลังได้
แนวทางการวินิจฉัยโรค
โดยทั่วไปการรักษาโรคมะเร็งที่ดีที่สุด คือการค้นพบผู้ป่วยที่เป็นโรคในระยะแรก เพื่อหวังผลในการรักษาให้หายขาด มีชีวิตอยู่ได้ยาวนาน และมีคุณภาพชีวิตที่ดีเพราะว่าถ้าผู้ป่วยมาพบแพทย์ในระยะหลังคือระยะ 3 และระยะ 4 นั้น อาจจะช้าเกินไป เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาดได้ การรักษาในระยะ 3 และ 4 จะเป็นการรักษาแบบประคับประคองให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่ยาวนานที่สุด ดังนั้นสิ่งที่สําคัญที่สุดคือ การวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะต้นๆ ในผู้ป่วยให้ได้โดยการตรวจเช็คต่อมลูกหมากจากแพทย์ เนื่องจากมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะแรกๆ จะไม่มีอาการผิดปกติของทางเดินปัสสาวะใดๆ วิธีการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากมีการตรวจด้วยกัน 2 แบบคือ
การรักษา
การรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก การรักษาขึ้นอยู่กับว่าผู้ป่วยที่มาพบแพทย์อยู่ในระยะใด ถ้าอยู่ในระยะต้นๆ คือระยะ 1 หรือระยะ 2 ก็มีโอกาสใช้วิธีการรักษาให้หายขาดได้ แต่ถ้าผู้ป่วยที่มาพบแพทย์อยู่ในระยะที่ลุกลามไปแล้ว การรักษาก็จะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การรักษาจะทําให้มีชีวิตได้ยาวนานที่สุด และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
การรักษามะเร็งต่อมลูกหมากในระยะต้น (ระยะ 1 หรือระยะ 2) ทําการรักษา ได้ 2 วิธี คือ
รศ.นพ.สุนัย ลีวันแสงทอง
ภาควิชาศัลยศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ, มกราคม 2563
มะเร็งผิวหนัง
มะเร็งผิวหนังเป็นมะเร็งที่พบได้น้อยประมาณร้อยละ 5 ของมะเร็งทั้งหมด แต่เกิดได้ในทุกช่วงอายุ มะเร็งผิวหนังเกิดจากเซลล์ผิวหนังมีการเจริญเติบโตและแบ่งตัวผิดปกติ แบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ Melanoma และ Non-Melanoma มะเร็งชนิด Non-Melanoma เป็นมะเร็งที่พบบ่อยสามารถเกิดได้ทั่วร่างกาย เช่น บริเวณศีรษะ ใบหน้า ลำคอ หลังมือ แขน และขา เป็นต้น มะเร็งชนิดนี้ส่วนใหญ่จะไม่แพร่กระจาย และลุกลามช้า ทำให้ง่ายต่อการรักษา พบได้บ่อย 2 ชนิด ได้แก่ “basal cell carcinoma” และ “squamous cell carcinoma”
ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งผิวหนัง
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรคมะเร็งผิวหนัง แต่คาดว่าส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการได้รับแสงแดดเป็นเวลานานและยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น
อาการ
อาการของมะเร็งผิวหนังที่พบได้บ่อย คือ การมีไฝที่มีขนาดใหญ่ผิดปกติ การมีตุ่มหรือก้อนเนื้อขอบแผลขรุขระ หรือแผลเรื้อรังที่ผิวหนัง แผลที่เป็นนาน ๆ รักษาไม่หายอาจกลายเป็นมะเร็งได้ เมื่อโรคลุกลามอาจคลำพบต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้เคียงกับผิวหนังส่วนที่เป็นโรคโตจนคลำได้
การวินิจฉัย
แพทย์จะวินิจฉัยโรคจากการซักประวัติการได้รับปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ของผู้ป่วย ตลอดจนการสังเกตความผิดปกติของผิวหนังโดยการตรวจลักษณะของรอยโรค สี ขนาด และขอบ/รูปร่างของผิว ตลอดจนการตรวจคลำต่อมน้ำเหลือง ส่วนการตรวจวินิจฉัยที่ให้ผลแน่นอน คือ การตัดชิ้นเนื้อจากรอยโรค (ก้อนเนื้อ แผล หรือไฝ) เพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา
การรักษามะเร็งผิวหนัง
ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาด ตำแหน่งของมะเร็ง ซึ่งอาจดำเนินการได้หลายวิธีตามดุลพินิจของแพทย์ ได้แก่
การป้องกันมะเร็งผิวหนัง